ทุกวันนี้ หลายธุรกิจสร้างจุดขายด้วย personalisation คือ
ออกแบบเฉพาะตามความต้องการของลูกค้า
ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบรองเท้าตามสีและวัสดุที่ถูกใจของ Adidas หรือออกแบบคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คส์ตามสเป๊คที่ต้องการแบบ Dell ในปัจจุบันเรื่องนี้แพร่ขยายมาสู่การศึกษา คือ personalised
learning หรือการเรียนรู้ตามศักยภาพเฉพาะบุคคล
เป็นที่รู้กันว่าในหนึ่งห้องเรียน มีทั้งเด็กเก่งและเด็กอ่อน
ยกคณิตศาสตร์เป็นตัวอย่าง ความแตกต่างระหว่าง “อายุทางคณิตศาสตร์”
ของเด็กเก่งสุดและอ่อนสุดมีมากถึง 4 ปี
แล้วครูหนึ่งคนที่สอนหน้าห้องควรมีวิธีรับมือกับความต่างนี้อย่างไร ไม่ว่าจะสอนอย่างไรก็จะทั้งคนที่งงมากและเบื่อมาก
การสอนแบบกลาง ๆ จึงทำให้การยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้เป็นไปอย่างยากเข็น เด็กที่งง
หากงงต่อไปเรื่อย ๆ คงเสียความมั่นในในการเรียนรู้ไปอีกนาน
โทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษกล่าวถึง personalised learning ว่าเป็นหนึ่งในอาวุธที่จะช่วยให้เด็กมี “อนาคตที่ยุติธรรม (fair
future)” ในการต่อสู้ในสังคมที่แข่งขันดุเดือด มีการทำวิจัยเรื่อง personalised
learning พบว่าทำได้หลายวิธี เช่น ลดจำนวนนักเรียน/ห้อง
เพิ่มจำนวนครู/ห้อง หรือให้เด็กเรียนพิเศษเป็นกลุ่มย่อย
ทั้งสิ้นต้องใช้งบประมาณสูงมาก
จึงศึกษาต่อว่าจะใช้เทคโนโลยีมาแก้โจทย์นี้ได้อย่างไร
ปีที่แล้ว UK Trade & Investment Agency แนะนำให้ดิฉันรู้จักกับบริษัท
Maths-Whizz ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกเรื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุน
personalised learning ในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กประถม
ดิฉันเป็นผู้ศรัทธาการเรียนรู้แบบ hands-on จึงไม่ค่อยอยากพบกับบริษัทนี้เท่าไร
แต่แล้วพบว่าการบูรณาการเทคโนโลยีอย่างถูกวิธีจะช่วยแก้ปัญหาการศึกษาได้หลายอย่าง
วิจัยบอกว่า หากนักเรียนทำ Maths-Whizz 60 นาที/สัปดาห์ติดต่อกัน 12 เดือน
อายุคณิตศาสตร์จะพัฒนาขึ้นมากถึง 18 เดือน
ระบบอัจฉริยะคัดเลือกบทเรียนที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน
ช่วยแก้ปัญหาการจัดการชั้นเรียน เพราะครูไม่ต้องออกแบบบทเรียนให้นักเรียนทีละคน
พร้อมมีระบบรายงานให้ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองเห็นถึงพัฒนาการอย่าง real time เป็นรายโรง
รายชั้น รายห้อง และรายบุคคล ปัจจุบันรัฐบาลรัสเซียก็เริ่มทดลองระบบนี้แล้ว
ทำให้มีระบบรายงานสำหรับกระทรวงศึกษาด้วย ตามหลักบริหารสากลที่ว่า มืออาชีพบริหารงานด้วยตัวเลขและข้อเท็จจริง
ถือว่าเป็นหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
บางคนท้าทายว่า หากประเทศไทยเราไม่สามารถมอบ Personalised Learning ให้กับเด็กทุกคนในประเทศได้เพราะข้อจำกัดด้านงบประมาณ เราก็ไม่ควรทำ
เพราะไม่ยุติธรรม กระตุกความคิดของดิฉันว่าก้าวแรกของการพัฒนาคืออะไร เราต้องทนกับ
“สิ่งถูก ๆ” เพื่อทุกคนจะได้เหมือนกันหรือ หากไม่คิดนอกกรอบ ลองสิ่งใหม่
เราจะหลุดบ่วงได้อย่างไร
เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า
หากเราต้องการเอาชีวิตรอดในโลกที่เปลี่ยนแปลง เราต้องเรียนรู้ที่จะไม่หยุดนิ่ง One size fits all
ไม่มีอีกแล้ว ลูกค้าต้องการ “คุณค่า” เฉพาะบุคคล และหากเราต้องการ “ยกระดับ”
การเรียนรู้ของระบบการศึกษาจริง ๆ เราไม่สามารถพอใจกับการบริหารชั้นเรียนแบบ “ค่าเฉลี่ย”
อีกต่อไป เพราะผลลัพธ์ก็คือเด็กที่เก่งแบบ “เฉลี่ย”
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น