วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

กระต่ายไม่มีหู ปลูกฝังให้ลูกรักเคารพความแตกต่างระหว่างผู้อื่น

หลายคนตั้งคำถาม ลูกเราจะยืนหยัดในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างมีความสุขและเป็นคนดีอย่างไร คนมากหน้าหลายตา หลายพ่อพันแม่ เราจะอยู่ปกป้องเขาได้ตลอดได้อย่างไร

ฌอน โควีย์ กล่าวใน7อุปนิสัยของเด็กดีมีความสุข ว่า “หลักการที่ต้องการปลูกฝังให้ลูกนั้นเป็นเหมือนกับแรงโน้มถ่วงของโลก ไม่แปรผันไปตามกาลเวลา มีความเป็นสากล สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง และมีความจำเป็นต่อสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง”

หนึ่งสิ่งที่ดิฉันอยากให้ผู้ปกครองเน้นย้ำพิเศษ คือ การเคารพความแตกต่างของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างด้านกายภาพ เชื้อชาติ ความคิด และไลฟสไตล์ ฟังดูยากแต่ไม่เป็นไปไม่ได้นะคะ ดิฉันขอยกตัวอย่างจากหนังสือ 2 เล่มค่ะ

หนังสือเรื่อง “คู่มือ kid ดี” ของ Laura Jaffe ตั้งคำถามให้เด็ก ๆ ว่า หากพบคนพูดติดอ่างจะทำอย่างไรและสะท้อนผลลัพธ์ให้พวกเขาเห็น คือ 
  1. หัวเราะเสียงดัง (เขาพูดเรื่องตลกหรือพูดไม่เหมือนเรา เขาจะคิดว่าเราหัวเราะเยาะไหมนะ) 
  2. หงุดหงิด (เขาอาจจะหงุดหงิดยิ่งกว่าที่ไม่สามารถพูดได้ราบรื่นเหมือนเรา) 
  3. สงสาร (เขาคงไม่อยากให้เราสงสาร เพราะเขาก็ทำทุกอย่างได้เหมือนเรา) 
  4. พูดจบประโยคแทนให้ (เพื่อนจะคิดว่าเราอยากช่วยเขาหรือเข้าใจผิดว่าเราขี้เกียจรอเขาพูดไหม) 
  5. ทำเหมือนไม่รู้จัก (เราอาจทำเป็นไม่รู้จักเพราะอยากให้เขาสบายใจ แต่หากเขาอยากคุยกับเราล่ะ) 
  6. ไม่ใส่เรื่องนี้ (อาจจะรำคาญตอนแรก แต่ก็เล่นสนุกกันต่อไป)


อีกหนึ่งตัวอย่างมาจากนิทานเรื่อง “กระต่ายไม่มีหู” โดย Til Schweiger ตัวเองของเรื่องคือกระต่างไม่มีหู สุดท้าย คำถามสำคัญคือ หากเพื่อนเราพูดติดอย่าง หรือเพียงกระต่างไม่มีหู แปลว่าเขาด้อยกว่าเราหรือไม่?!? เด็กมีประสบการณ์น้อยกว่าพวกเรา สิ่งที่เราทำได้คือสร้างเวทีความคิด ตั้งคำถามเปิดกว้าง ค้นหาที่มาของความคิดเห็นที่หลากหลาย เพื่อให้เขาได้ค้นพบด้วยตัวเอง ดิฉันคิดว่าหนังสือเป็นเครื่องมือที่ช่วยพวกเราปลูกฝังเรื่องนี้ได้ดี ดังที่มีนักคิดท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “ความเหนือจริงสะท้อนความจริงได้ดียิ่งกว่า” หากเราสอนลูกหลานว่า “เราต้องเคารพความแตกต่างนะคะ” ลูกหลานเราอาจคิดว่า “...!?!...” แต่พวกเขาได้ประสบประเด็นเหล่านี้ผ่านเรื่องราวของผู้อื่นในหนังสือ พวกเขาจะเข้าใจและเชื่อมากกว่าค่ะ


ดิฉันคิดว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เด็กไทยจะได้พบปะกับคนต่างประเทศมากขึ้น วิธีการที่พวกเขาจะปฏิสัมพันธ์กับคนที่แตกต่างจะเป็นข้อพิสูจน์ว่าเราปลูกฝังให้ลูกหลานเราเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกที่มีคุณภาพได้ดีหรือยังค่ะ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น