“Necessity is the mother of invention” กล่าว ฯพณฯ นายชีมอน โรเดด เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย
นั่นคงเป็นสาเหตุที่หนังสือ “คิดอย่างไร ใหญ่อย่างอิสราเอล” ว่า “ทำไมประเทศอิสราเอลที่มีประชากรเพียง 7.1 ล้านคน
ทั้งยังอยู่ท่ามกลางสงครามมาตลอด ไม่มีแม้แต่ทรัพยากรธรรมชาติ แต่สามารถสร้างชาติ
สร้างคน และสร้างบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ของสหรัฐฯ
ได้มากกว่าบริษัทของเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน อินเดีย และยุโรปทุกชาติรวมกัน”
สัปดาห์ที่แล้ว
ดิฉันมีโอกาสร่วมรับประทานอาหารกับท่านทูต เพื่อเตรียมการจัดงานสัมมนาครั้งใหญ่ “ถอดบทเรียนความสำเร็จของคนอิสราเอล
จุดประกายคนไทยมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ” ที่จัดร่วมกับสถานทูตรอิสราเอล
ธนาคารกสิกรไทย และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ถึงแม้ผู้ใหญ่ในวงการศึกษามักจะไปดูงานที่อิสราเอล
โดยเฉพาะด้านการศึกษาปฐมวัย ดิฉันไม่เคยตระหนักเลยว่า การสร้างคนให้มีคุณภาพ
มีแนวความคิด “สร้างนวัตกรรม” ถูกฝังรากอย่างหนักแน่นในทุกมิติ ถึงขนาดที่ Dan Senor และ Saul Singer ต้องเขียนหนังสือ “Start-Up
Nation” ออกมาเป็นหนังสือขายดีระดับโลก
เว็บไซต์ของ “Start-Up Nation” กล่าวว่า “ในช่วงเวลาที่นวัตกรรมเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก “Start-Up Nation” จะยกตัวอย่างจากประเทศอิสราเอล
ที่ไม่เพียงสามารถปรับใช้ได้กับประเทศอื่น ๆ
แต่สามารถปรับใช้กับทุกคนที่ต้องการสร้างองค์กรที่ประสบความสำเร็จ” นั่นคือสร้างคนที่มีจิตวิญญาณแบบ “Can-Do”
คำว่า “Improvisation” (พลิกแพลงตามสถานการณ์) ถูกพูดถึงบ่อยครั้งระหว่างทานข้าวค่ะ
ท่านทูตกล่าวว่าคนอิสราเอลทำงานและใช้ชีวิตแบบให้เป้าหมายนำ
จะเห็นว่าในบริษัทอิสราเอล หากลูกค้าบอกว่าจะทำด้วยวิธีอะไร...หัวหน้าจะบอกว่า “I don’t care” อย่างที่เอ่ยไว้เบื้องต้น “ความจำเป็นก่อให้เกิดนวัตกรรม”
ในคราวที่ไม่มีประเทศไหนยอมขายอาวุธให้อิสราเอลเลย
อิสราเอลก็ต้องทำทุกอย่างจนสามารถผลิตอาวุธเองได้ แม้กระทั่งเรื่องน้ำดื่ม
เพราะอิสราเอลไม่มีน้ำดื่มเพียงพอ มีแต่น้ำทะเล
จึงคิดค้นระบบแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำดื่มได้สำเร็จ หรือจะเป็นความจำเป็นแบบเรา เรา
ของคุณแม่ทั้งหลาย ที่มีภารกิจรัดตัว ดูแลลูก ส่งลูกไปโรงเรียน
รีบไปถึงที่ทำงานให้ตรงเวลา รีบไปรับลูก กลับมาทำงานบ้าน ฯลฯ สุดท้าย
อิสราเอลก็ตอบโจทย์จนทำระบบ Navigation ที่สุดยอดมากจน Google ต้องซื้อนวัตกรรมนี้ต่อ
บทเรียนหนึ่งที่เราเห็น คือ
อย่ากลัวความล้มเหลว ไม่สำเร็จครั้งเดียวไม่ได้ความว่าคุณล้มเหลว ลองใหม่! “ในอิสราเอล การล้มเหลวจะไม่สร้างบทแผลในสังคม” ท่านทูตบอกว่ามันเป็นเรื่องปกติมาก
สิ่งสำคัญ คือ
เราเรียนรู้อะไรจากข้อผิดพลาดครั้งนี้ การเรียนรู้จากอดีตเป็นเรื่องสำคัญ
ท่านทูตแสดงความผิดหวังที่หลายประเทศไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์สงครามโลก
บางครั้งเห็นนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาชั้นนำใช้สัญลักษณ์ “สวัสดิกะของนาซี” แบบไม่รู้ตัว
อย่าว่าแต่ประวัติศาสตร์โลกเลยค่ะ ดิฉันยังรู้สึกเสียดายที่ประวัติศาสตร์สมัย 14
ตุลา หรือ 6 ตุลา ไม่อยู่ในหลักสูตรขั้นพื้นฐาน ทำให้รูปแบบปัญหาสังคมเกิดขึ้นแบบซ้ำ
ๆ
หลายท่านคงสงสัยว่า
ทำไมดิฉันถึงตัดสินใจพิมพ์หนังสือเล่มนี้ และจัดสัมมนาครั้งนี้ ทั้ง ๆ
ที่เราเล่นเรื่องเด็กและเยาวชนเป็นหลัก ดิฉันมองเรื่องการสร้างคนค่ะ
คงต้องชวนคิดต่อว่า ในฐานะที่เราเป็นคนไทยคนหนึ่ง
ที่ต้องการยกระดับคุณภาพของคนและสัมคม เราจะถอดบทเรียนความสำเร็จของคนอิสราเอลอย่างไร
เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนไทยและสมาชิกในองค์กรของเรา มีคุณภาพ ยืดหยุ่น กล้าคิด
กล้าทำ ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญของการสร้างนวัตกรรม
พวกเราคงเห็นพ้องว่า
เราจะถอดบทเรียนมาใช้แบบทั้งดุ้นคงไม่ได้ แต่เราจะหา Best Fit ของไทยหรือกับองค์กรของเราได้อย่างไร นี่เป็นประเด็นสำคัญ
ในการจัดสัมมนาครั้งนี้ เราได้รับเกียรติจากวิทยากรชั้นนำของชาติ คือ คุณประภัสสร เสวิกุล, ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล, ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และ ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล
หากคุณมีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้
ลองเขียนความเห็นมาแบ่งปันกันนะคะ
และครั้งหน้าดิฉันจะมาเล่าถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานสัมมนาครั้งนี้อีกค่ะ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น